‘Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย’ ลิมิเต็ดซีรีส์ 4 ตอนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเบื้องหลังวงการมวยไทย ที่เต็มไปด้วยบาดแผลซึ่งถูกซ่อนเร้น …

เล่าเรื่องราวการตีแผ่ความจริงของวงการมวยที่แบ่งเป็นเรื่องสั้นสี่ตอนโดยแบ่งเป็นเรื่องราวของนักพนันมวยที่เรียกตัวเองว่าเซียนพนัน กรรมการตัดสินบนเวที เสี่ยที่คุมเวทีมวย และนักมวยเด็กที่มีนิสัยทะเยอทะยานกับครูฝึก
ความรู้สึกที่ดูคือแค่เริ่มต้นเปิดเรื่องมาก็โคตรมันส์แล้ว ขอบอกตรงๆว่าหนังกึ่งสารคดีเรื่องนี้ทำให้คนดูไม่รู้เลยว่าเรากำลังจะเจอกับอะไรอยู่ ก่อนที่ตัวหนังกึ่งสารคดีเรื่อง Hurt Like Hells จะทำให้เราดำดิ่งไปสู่ด้านมืดของวงการมวย ราวกับเราเข้าไปนั่งในสนามมวยข้างๆกับคนที่เขาต่อยกันจริงๆ แสงสีเสียงองค์ประกอบฉากมองว่าค่อนข้างสมจริงจนน่ากลัวเลย อย่างกับเราได้ลุ้นเชียร์ด้วยจริงๆในฐานะคนดูและนักมวยต่อยจริงเจ็บจริง แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ค่อยมีความรู้หรือสนใจเรื่องอะไรเกี่ยวกับวงการมวยในเมืองไทยก็ตาม แต่ก็ได้ความรู้เรื่องมวยจากสารคดีเรื่องนี้ไปเยอะพอสมควรทั้งประเด็นทางสังคมที่เป็นปัญหา และวงการมาเฟียพนันทีมีอยู่คู่วงการมวยไทยจริงๆ
- ความทะเยอทะยานที่น่าชื่นชมของซีรีส์ Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย อยู่ตรงที่มันไม่ได้โฟกัสเพียงแค่ประเด็นหนึ่งประเด็นใด หรือตัวละครหนึ่งตัวละครใด ทว่าตัวซีรีส์พยายามวาดให้ผู้ชมเห็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นระบบนิเวศในวงการมวยไทย ซึ่งแต่ละส่วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้ ข้อสำคัญคือมันเป็นเหมือนแดนสนธยาที่ไม่มีอะไรโปร่งใสหรือสะอาดสะอ้านสักอย่างเดียว
- ส่วนที่ทำให้ซีรีส์ 4 ตอนจบเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องแนวกระเทาะความโสมมของวงการต่างๆ ในสังคม ก็ได้แก่ การผสมผสานวิธีการเล่าแบบภาพยนตร์สารคดีกับเรื่องแต่งเข้าไว้ด้วยกัน พาร์ตเรื่องแต่ง ได้แก่ การที่ผู้สร้างพาผู้ชมไปสอดส่องเรื่องของตัวละครตามแนวเรื่องแบบ ‘หลายชีวิต’ และแต่ละคนก็มีเงื่อนไข ปัญหา และความยุ่งยากเฉพาะของตัวเอง
- พาร์ตที่จุดประกายให้ซีรีส์ดูมีชีวิตชีวาและชวนให้ติดตามมากขึ้นก็คือ การให้สัมภาษณ์ของบรรดาตัวบุคคลจริงๆ ในวงการมวยไทย ซึ่งมันช่วยเสริมให้เนื้อหาในส่วนที่เป็นเรื่องแต่งดูขึงขังขึ้นทันตา และเราก็ได้เห็นใบหน้าที่คุ้นเคยอย่าง สมิงขาว นักพากย์และนักวิจารณ์มวยที่คร่ำหวอดวงการ, เขาทราย แกแล็คซี อดีตแชมป์โลกหลายสมัย และ สมจิตร จงจอหอ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งทั้งสองคนล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการชกมวยไทย
Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย ผลงานกำกับของ กิตติชัย วรรณ์ประเสริฐ เป็นซีรีส์จำกัดตอนที่เผยแพร่ทางช่อง Netflix ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเราคนนอกอยากรู้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปถามใคร เพราะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครบอกเล่าให้ฟังตรงๆ
ความทะเยอทะยานที่น่าชื่นชมของซีรีส์ Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย อยู่ตรงที่มันไม่ได้โฟกัสเพียงแค่ประเด็นหนึ่งประเด็นใด หรือตัวละครหนึ่งตัวละครใด ทว่าตัวซีรีส์พยายามวาดให้ผู้ชมเห็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นระบบนิเวศในวงการมวยไทย ซึ่งแต่ละส่วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้ ข้อสำคัญคือมันเป็นเหมือนแดนสนธยาที่ไม่มีอะไรโปร่งใสหรือสะอาดสะอ้านสักอย่างเดียว
และถ้าหากจะลองจำแนกแยกแยะยูนิเวิร์สนี้อย่างคร่าวๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ประกอบด้วย นักมวย, ครูมวย, พี่เลี้ยงและทีมงาน, กรรมการ และแน่นอน คนดู ซึ่งจากที่ผู้สร้างระบุไว้ในตอนแรก จุดประสงค์ของแฟนมวยแทบจะร้อยทั้งร้อยที่เดินเข้าสนามก็เพื่อเล่นพนันขันต่อผ่านการส่งสัญญาณมือที่รับรู้กันอย่างไม่ต้องเคอะเขินเหนียมอาย ข้อความในช่วงเปิดเรื่องระบุว่า จำนวนคนที่เกี่ยวข้องในวงจร ‘การเล่นมวย’ มีมากถึง 5 แสนคน และเม็ดเงินไหลเวียนก็สูงถึงปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท
ส่วนที่ทำให้ซีรีส์ 4 ตอนจบเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องแนวกระเทาะความโสมมของวงการต่างๆ ในสังคม ก็ได้แก่ การผสมผสานวิธีการเล่าแบบภาพยนตร์สารคดีกับเรื่องแต่งเข้าไว้ด้วยกัน พาร์ตเรื่องแต่ง ได้แก่ การที่ผู้สร้างพาผู้ชมไปสอดส่องเรื่องของตัวละครตามแนวเรื่องแบบ ‘หลายชีวิต’ และแต่ละคนก็มีเงื่อนไข ปัญหา และความยุ่งยากเฉพาะของตัวเอง


แต่พาร์ตที่จุดประกายให้ซีรีส์ดูมีชีวิตชีวาและชวนให้ติดตามมากขึ้นก็คือ การให้สัมภาษณ์ของบรรดาตัวบุคคลจริงๆ ในวงการมวยไทย ซึ่งมันช่วยเสริมให้เนื้อหาในส่วนที่เป็นเรื่องแต่งดูขึงขังขึ้นทันตา และเราก็ได้เห็นใบหน้าที่คุ้นเคยอย่าง สมิงขาว นักพากย์และนักวิจารณ์มวยที่คร่ำหวอดวงการ, เขาทราย แกแล็คซี อดีตแชมป์โลกหลายสมัย และ สมจิตร จงจอหอ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งทั้งสองคนล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการชกมวยไทย หรืออีกคนหนึ่งที่น่าเชื่อว่าใครที่คุ้นเคยกับวงการมวยสากลสมัครเล่นอยู่บ้างก็น่าจะยังไม่ลืมชื่อ วันชัย ผ่องศรี อดีตนักมวยสมัครเล่นทีมชาติ ผู้ซึ่งปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นกรรมการห้ามบนเวที
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอในส่วนของตัวบุคคลจริงก็คือ ผู้สร้างใช้การตั้งกล้องในลักษณะที่กำหนดให้คนเหล่านั้นจ้องมองตรงมาที่คนดู (อาจจะเปลี่ยนเซ็ตอัพของภาพบ้างในบางจังหวะคำพูด นัยว่าเพื่อเน้นและไม่เน้นถ้อยคำเหล่านั้น) และทีละน้อย คำพูดที่พรั่งพรูก็ฟังเหมือนกับคำให้การของประจักษ์พยานในชั้นศาล รวมถึงพวกเราน่าจะตระหนักได้ว่า ข้อเท็จจริงที่คนเหล่านั้นบอกเล่าก็เรื่องหนึ่ง ทว่าทัศนะของพวกเขาก็ไม่ใช่สิ่งที่พวกเราคนดูต้องเห็นพ้องร้อยเปอร์เซ็นต์ และอะไรบางอย่างบอกโดยอ้อมว่า หลายคนก็พูดแบบเข้าข้างตัวเองหรือมีเอี่ยวกับเรื่องที่บอกเล่า และส่วนที่สะดุดความรู้สึกอยู่พอดูก็ตรงที่แอ็กติ้งของ ‘ซับเจ็กต์’ บางคนไม่ค่อยจะเป็นธรรมชาติเท่าไรนัก (เหมือนถูกคนทำภาพยนตร์ไกด์ไม่มากก็น้อย) และเอาเข้าจริงกลายเป็นว่าช่วงที่คนเหล่านี้ไม่ได้พูดอะไร และผู้สร้างใช้การจับภาพนิ่งๆ กลับเป็นโมเมนต์ที่น่าสนใจ เพราะอย่างน้อยมันดู ‘จริง’ กว่าตอนที่เขาพูดอะไรๆ ออกมา


อย่างไรก็ตาม ส่วนที่นับเป็น ‘วิทยาทาน’ สำหรับคนดูอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ บรรดาข้อมูลความรู้ในเชิงเทคนิคทั้งหลายทั้งปวง ทั้งศัพท์แสงในวงการพนัน (ล้อมกิน, ขายเบอร์) หรือลูกเล่นสกปรกกว่านั้น อย่างเช่น การวางยานักมวย ซึ่งมักจะเป็นฝีมือของคนกันเอง หรือหนักหนาสาหัสขึ้นไปอีกก็ตรงที่กรรมการเองดันขอมีส่วนแบ่งในเค้กผลประโยชน์ด้วยอีกคน และถ้าหากจะสรุปสิ่งละอันพันละน้อยจากที่บรรดาผู้สันทัดกรณีบอกเล่าในซีรีส์เรื่องนี้ มันก็ตอกย้ำว่า วงการมวยเป็นยิ่งกว่าภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ที่ไม่มีใครไว้เนื้อเชื่อใจได้สักคน การทรยศหักหลังเป็นเรื่องปกติธรรมดา และแต่ละคนที่ก้าวเท้าเข้ามาต้องยอมรับเงื่อนไขนี้และเผชิญความเสี่ยงกันแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนที่ดูจะเป็นปัญหาพอสมควรอยู่ที่พาร์ตดราม่า จริงๆ แล้ววิธีการที่ผู้สร้างใช้การชกมวยสองคู่ ซึ่งก็คือคู่เด็กกับคู่ผู้ใหญ่ เป็นเสมือนแกนกลางของเรื่องที่รายละเอียดน้อยใหญ่งอกเงยจากตรงนั้น ก็นับเป็นกลวิธีที่ฉลาดทีเดียว ทำนองว่ามันถูกใช้เพื่อจำลองความฉ้อฉลในวงการมวยไทยได้อย่างรัดกุม แต่จะด้วยผู้สร้างไม่มีเวลาและพื้นที่มากพอหรืออะไร เนื้อหาในส่วนที่เรียกว่าเป็นภาคขยาย อันได้แก่ เรื่องของตัวละครแต่ละคน กลับไม่กลมกล่อมและหนักแน่นอย่างที่น่าจะเป็น บางเรื่องหรือหลายเรื่องดูบางเบา สำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งรู้สึกได้ว่ามันค่อนข้างยัดเยียดเกินไป